Tiny Star

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สุดท้ายนี้จะมาแนะนำหนังสือคู่มือสำหรับขายภาพออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบ

แนะนำอ่านเรียงตามลำดับปกหนังสือที่เรียงไว้ด้านบนนี้นะครับ
สารบัญเนื้อหาของหนังสือ "แชะ!!...รวยทะลุเลนส์ ถ่ายภาพขายออนไลน์ ธุรกิจสร้างเงินล้าน"
บทที่ ความรู้พื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการขายภาพถ่าย
  • ไม่ใช่มืออาชีพก็ขายภาพถ่ายได้
  • ทำความรู้จักกับธุรกิจขายภาพถ่ายสต็อก
  • Stock Photo หรือ ภาพถ่ายสต็อก คืออะไร
  • Copyright ลิขสิทธิ์
  • Licensing การอนุญาตให้ใช้
  • การขายภาพถ่ายสต็อกของคุณผ่านเว็บไซต์
  • ข้อแตกต่างระหว่างการอนุญาตให้ใช้ภาพแบบ RM กับ RF
  • รู้จักกับ ไมโครสต็อก (Microstock)
  • ข้อแตกต่างของตัวแทนขายภาพสต็อกประเภทต่าง ๆ
  • ไมโครสต็อกทำเงินให้คุณได้มากแค่ไหน
  • ใครเป็นผู้ซื้อภาพถ่ายสต็อกของคุณ
  • กฏของช่างภาพสต็อก
  • การเปิดเผย/เผยแพร่ และสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคล
  • การถ่ายภาพอาคาร
  • การถ่ายภาพงานศิลปะ
  • เมื่อไหร่ที่คุณไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุญาต/การยินยอม
  • Fair Use คิออะไร
บทที่ ความรู้ทั่วไปและวิธีการถ่ายภาพสต็อก
  • ภาพอะไรขายได้ และ ภาพแบบไหนขายดี
  • ภาพถ่ายแบบไหนที่เรียกว่า "ภาพถ่ายแบบ Stock Photo"
  • กล้องและอุปกรณ์สำหรับถ่ายภาพสต็อก
  • กล้องอะไรใช้ถ่ายภาพสต็อกได้ และกล้องอะไรใช้ถ่ายภาพสต็อกดี
  • ใช้เลนส์อะไรดี
  • ขาตั้งกล้อง อุปกรณ์ประกันความคมชัด
  • แฟลช จำเป็นหรือไม่
  • เรื่องที่ต้องรู้ก่อนจะลงมือถ่ายภาพสต็อก / คุณภาพทางเทคนิค
  • การโฟกัส และความคมชัดของภาพ
  • คุณภาพของแสง
  • จุดรบกวน (Noise) และความเพี้ยนของสี (Color Distortion)
  • การปรับแต่งที่เกินพอดี
  • การทำ Isolation และการตัดส่วนภาพ
  • ภาพซ้ำ ภาพหลายมุม
  • ภาพสแน็ปช็อต (Snapshot)
  • โลโก้ ชื่อเฉพาะ เครื่องหมายการค้า สัญลักษณ์เฉพาะตัว
  • ภาพคน ใบหน้าสำคัญที่สุด
  • ค่าเริ่มต้นมาตรฐานที่คุณควรตั้งไว้ในกล้องสำหรับถ่ายภาพสต็อก
  • ระบบหรือโหมดภาพถ่าย
  • รูปแบบ (Format) ของไฟล์ภาพ
  • White Balance สมดุลแสงสีขาว
  • ค่า ISO
  • Histogram กราฟแสดงค่าแสง
  • การจัดการภาพถ่ายหลังจากที่ถ่ายมาแล้ว (Post-processing) และอุปกรณ์ที่จำเป็น
  • Lightroom + Photoshop โปรแกรมคู่หูสำหรับการจัดการและปรับแต่งภาพ
  • คำค้น (Keyword) เครื่องมือสำคัญสำหรับการขายภาพของคุณ
  • โปรแกรม Dictionary ขาดไม่ได้สำหรับคอมพิวเตอร์ของช่างภาพสต็อก
  • Internet
  • FTP วิธีที่ง่ายที่สุดในการ Upload ภาพจำนวนมากไปยังไมโครสต็อก
  • เริ่มต้นขายภาพที่ไหนกันดี
  • 123rf ง่ายกว่านี้ ไม่มีอีกแล้ว
  • Dreamstime ไม่ยาก ไม่ง่าย รายได้พอควร
  • Fotolia ส่งภาพง่าย แต่รับภาพไม่ง่าย รายได้สมน้ำสมเนื้อ
  • iStockphoto สอบเข้ายาก รับภาพยาก แต่จ่ายมากแน่นอน
  • Shutterstock ไมโครสต็อกในฝันของช่างภาพแนวท่องเที่ยว ทิวทัศน์ ธรรมชาติ
  • อัตราการจ่ายส่วนแบ่งค่าขายภาพ (Commission)
  • ไมโคสต็อกจ่ายเงินค่าขายภาพให้คุณด้วยวิธีใด
บทที่ ขั้นตอนการส่งภาพไปยังไมโครสต็อกต่าง ๆ
www.123rf.com
  • การลงทะเบียนเป็นสมาชิก
  • การตั้งค่า FTP และเริ่มต้นอัปโหลดภาพ
  • วิธีการ Submit ภาพขั้นสุดท้ายใน 123rf
www.dreamstime.com
  • การลงทะเบียนเป็นสมาชิกและเริ่มต้นอัปโหลดภาพชุดแรก
  • การ Submit ภาพขั้นสุดท้าย ใน Dreamstime
  • การอัปโหลดภาพไปยัง Dreamstime ผ่าน FTP
www.fotolia.com
  • การลงทะเบียนเป็นสมาชิก การตั้งค่าระบบ FTP และการเริ่มต้นอัปโหลดภาพ
  • การ Submit ภาพขั้นสุดท้ายใน Fotolia
www.iStockphoto.com
  • การลงทะเบียนเป็นสมาชิก และการส่งภาพตัวอย่างไปสอบ
  • การอัปโหลดภาพหลังจากสอบผ่านแล้ว
  • การ Submit ภาพขั้นสุดท้าย
www.shutterstock.com
  • การลงทะเบียนเป็นสมาชิก
  • การส่งภาพตัวอย่างไปสอบ และการตั้งค่า FTP
  • การ Submit ภาพขั้นสุดท้าย
บทที่ ภาพถ่ายเมืองไทย โดยคนไทย ในไมโครสต็อกชั้นนำของโลก
  • 25 ภาพที่ขายดีที่สุดของผู้เขียน
  • ตัวอย่างภาพที่มีดาวน์โหลดอย่างน้อย ครั้ง ใน www.shutterstock.com
  • Portfolio ของผู้เขียนในไมโครสต็อกต่าง ๆ
ความหนา 392 หน้า สี่สีทั้งเล่ม ราคา 249 บาท จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น
สารบัญเนื้อหาของหนังสือ "แชะ!!...รวยด้วยภาพถ่าย"  (เล่มนี้ มีเนื้อหาเพิ่มเติม ต่อเนื่องจากเล่มแรก เพิ่มเนื้อหาระดับก้าวหน้า)
บทที่ เริ่มต้นขายภาพออนไลน์อย่างมั่นใจ
  • กล้อง Compact ก็ถ่ายภาพขายได้
  • ถ่ายภาพขายด้วยเลนส์ KIT
บทที่ สุดยอดเคล็ดวิชาฝ่าด่านอรหันต์ ส่งภาพสอบ Shutterstock และ iStockphoto อย่างไรให้ผ่าน
ด่านอรหันต์ด่านแรก การส่งภาพสอบ Shutterstock
  • สิ่งที่ควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการส่งภาพสอบ Shutterstock
  • สิ่งที่ต้องทำ
  • ข้อห้ามสำหรับการส่งภาพไปสอบ Shutterstock
  • ตัวอย่างภาพจริงที่ใช้ส่งสอบ Shutterstock ทั้งผ่านและไม่ผ่าน จำนวน 16 ชุด โดยสมาชิกwww.stockphotothailand.com  ที่สอบผ่านได้เป็นช่างภาพของ Shutterstock แล้ว
ด่านอรหันต์ด่านที่สอง การส่งภาพสอบ iStockphoto
  • iStockphoto
  • ประเภทของภาพที่ iStockphoto ต้องการ
  • ประเภทของภาพที่ iStockphoto ไม่ต้องการ
  • ส่งภาพแบบ Isolation ไปสอบทั้งหมดจะผ่านง่ายกว่า จริงหรือไม่
  • การส่งภาพคนไปสอบ
  • การส่งภาพแนวเดียวกันไปสอบ
  • ตัวอย่างภาพจริงที่ใช้ส่งสอบ iStockphoto ทั้งผ่านและไม่ผ่าน จำนวน ชุด โดยสมาชิกwww.stockphotothailand.com ที่สอบผ่านได้เป็นช่างภาพของ iStockphoto แล้ว
บทที่ ไต่ระดับสูงความสำเร็จขั้นสูงในการขายภาพสต็อก
ทางลัดสู่ภาพขายดี ไม่ต้องลองผิดลองถูก
  • ภาพยอดนิยมตลอดกาลของ Shutterstock
  • คีย์เวิร์ดยอดนิยม 100 คำแรกของ Shutterstock ขุมทรัพย์ที่เปิดเผยสำหรับช่างภาพทุกคน
  • ถ่ายภาพตามคีย์เวิร์ดยอดนิยม สุดยอดทางลัดสำหรับการสร้างสรรค์ภาพสต็อก
บทที่ เรื่องน่ารู้อื่น ๆ เกี่ยวกับไมโครสต็อกและภาพถ่ายสต็อก
การจัดการ Model Release หรือใบอนุญาตของบุคคลผู้ปรากฏอยู่ในภาพ
  • ลักษณะของภาพที่ต้องมีการแนบ Model Release
  • การจัดการ Model Release ใน Shutterstock
  • การจัดการ Model Release ใน iStockphoto
  • การจัดการ Model Release ใน Fotolia
  • การจัดการ Model Release ใน 123rf
  • การจัดการ Model Release ใน Dreamstime
  • การจัดการเอกสารเกี่ยวกับ TAX หรือภาษีในไมโครสต็อก
  • การจัดการเอกสารเกี่ยวกับ TAX ใน Shutterstock
  • การจัดการเอกสารเกี่ยวกับ TAX ใน Fotolia และ Dreamstime
เนื้อหา คุณภาพ ปริมาณ อะไรเป็นตัวกำหนดรายได้จากการขายภาพ
ปรับแต่งมากแค่ไหน เรียกว่ามากเกินไป
Tip สำหรับมือใหม่หัดขายภาพสต็อก
ตัวอย่างภาพที่ถูกดาวน์โหลดไปใช้งาน
ภาพถ่ายสต็อก เริ่มต้นได้จากอุตสาหกรรมในครอบครัว สตูดิโอในห้องนอน
ความหนา 384 หน้า พิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ราคา 249 บาท จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น
สารบัญเนื้อหาของหนังสือ "รวยด้วยคลิปวิดีโอออนไลน์"
บทที่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการขายวิดีโอสต็อก
  • ไม่ใช่มืออาชีพ ก็ถ่ายวิดีโอขายได้ คำยืนยัน จากภาพถ่าย สู่วิดีโอคลิป
  • ไมโครสต็อก (Microstock) คืออะไร
  • วิดีโอสต็อก (Stock Video) คืออะไร
  • วิดีโอสต็อก แตกต่างกับภาพถ่ายสต็อกอย่างไร
  • ใครเป็นลูกค้าของวิดีโอสต็อก
  • ลิขสิทธิ์ (Copyright) ในวิดีโอสต็อกของคุณ
  • กล้องที่ใช้ในการถ่ายวิดีโอสต็อก
  • เลนส์ที่ใช้ในการถ่ายวิดีโอสต็อก
  • อุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ ในการถ่ายวิดีโอสต็อก
  • ขาตั้งกล้อง และ หัวขาตั้งกล้อง
  • โปรแกรมที่ใช้ในการตัดต่อและเตรียมไฟล์วิดีโอสต็อก
  • ไมโครสต็อกใดบ้างขายวิดีโอสต็อก
บทที่ การขายคลิปวิดีโอใน iStockphoto
  • ส่วนแบ่ง หรือค่าคอมมิชชั่นการขายวิดีโอสต็อกใน iStockphoto
  • Exclusive ทางเลือกที่น่าสนใจในการเพิ่มรายได้จากการขายวิดีโอสต็อก
  • สอบภาพนิ่ง Vs วิดีโอ อย่างไหนยากง่ายกว่ากัน
  • การเตรียมไฟล์วิดีโอสำหรับส่งสอบใน iStockphoto
  • ขั้นตอนการสมัครขายวิดีโอสต็อกและส่งไฟล์สอบ
  • การเตรียมไฟล์วิดีโอที่จะส่งขาย หลังจากสอบผ่านแล้ว
  • การส่งไฟล์วิดีโอแบบขายจริง เพื่อให้ Inspector พิจารณา
  • การส่งไฟล์วิดีโอไปยัง iStockphoto ผ่านทางหน้าเว็บ
  • การส่งไฟล์วิดีโอไปยัง iStockphoto ผ่านทาง FTP
  • การเตรียมไฟล์วิดีโอสำหรับการส่งทาง  FTP
  • การเตรียมโปรแกรม FTP สำหรับการส่งไฟล์
บทที่ การขายคลิปวิดีโอหรือวิดีโอสต็อกใน www.shutterstock.com
  • ส่วนแบ่งหรือค่าคอมมิชชั่นการขายวิดีโอสต็อกใน Shutterstock
  • ขั้นตอนการลงทะเบียนสมัครเป็นช่างภาพของ Shutterstock
  • การส่งภาพไปสอบเพื่อเป็นช่างภาพของ Shutterstock
  • การส่งภาพไปสอบเพื่อเป็นช่างภาพของ Shutterstock
  • ลักษณะของภาพที่จะใช้ส่งสอบ
  • ภาพตัวอย่างที่ใช้ส่งสอบจริงใน Shutterstock
  • ขั้นตอนการส่งภาพไปสอบ
  • วิธีส่งคลิปวิดีโอหรือวิดีโอสต็อกไปยัง Shutterstock
บทที่ เทคนิค เคล็ดลับและเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับวิดีโอสต็อก
  • เสียง
  • การปรับแสงวิดีโอสต็อก
  • การใส่ข้อมูลต่าง ๆ ให้กับวิดีโอสต็อก
Title การตั้งชื่อให้กับวิดีโอสต็อก
Description การใส่คำอธิบายลักษณะหรือเนื้อหาของวิดีโอสต็อก
Keyword หรือ คำค้น หัวใจของการขายวิดีโอสต็อก
เทคนิคการหาคีย์เวิร์ดอย่างง่ายสำหรับมือใหม่ และผู้ที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษ
  • ใบอนุญาตการเป็นแบบ หรือ Model Release
  • ใบอนุญาตถ่ายภาพทรัพย์สิน หรือ Property Release
  • สิ่งของที่มีลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และอะไรก็ตามที่มียี่ห้อ
  • ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในวิดีโอของคุณ ลักษณะไหนที่ใช้ได้
  • มีกล้องที่ถ่ายวิดีโอไม่ได้ ก็ขายวิดีโอได้เหมือนก้น ด้วย Time Lapse
  • วิดีโอที่ขายดีใน iStockphoto
  • วิดีโอที่ขายดีใน Shutterstock
  • ไมโครสต็อกจ่ายเงินค่าขายวิดีโอสต็อกให้คุณอย่างไร
ความหนา 176 หน้า พิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ราคา 199 บาท จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั่น

อันตรายของการลอก หรือ Copy งานของผู้อื่น ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตาม


                           อันตรายของการลอก หรือ Copy งานของผู้อื่น ไม่ว่าจะเพราะเหตุใดก็ตาม

เพื่อให้การขายภาพสต็อกเป็นไปอย่างมั่นคงยั่งยืน ไม่เกิดปัญหาการถูกฟ้องร้อง หรือการถูกปิดบัญชี (แอคเคาท์) จากไมโครสต็อกในหลายหลัง ซึ่งที่ผ่านมาได้เกิดขึ้นมาแล้วจากหลาย ๆ กรณี จึงขอใช้กระทู้นี้ ทำความเข้าใจที่ชัดเจนกับสมาชิกหรือผู้อ่านทุกๆ ท่านที่กำลังสนใจหาข้อมูลการขายภาพออนไลน์ หรือแม้แต่สมาชิกมือเก่าที่ขายภาพมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการสร้างงานสต็อก และกำลังทำสิ่งที่เสี่ยงต่อการจะมีปัญหาถูกปิดบัญชีได้ในภายหลัง ดังนี้ครับ
       การสร้างสรรค์งานภาพสต็อก  จะต้องไม่สร้างงานในลักษณะที่พิจารณาได้ว่า "ลอก" หรือ "ก๊อปปี้" งานของผู้อื่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่าภาพเว็คเตอร์ เช่น สร้างขึ้นจากโปรแกรม Photoshopหรือ Illustrator เป็นต้น จะต้องไม่นำภาพของผู้อื่นภาพใดภาพหนึ่ง มาเป็นต้นแบบในการเลียนแบบและสร้างงานที่ดูแล้วเหมือน จนเรียกได้ว่า "ลอกงาน" หรือ "ก๊อปปี้งาน" เป็นอันขาด ไมโครสต็อกทุกแห่ง รวบรวมภาพยอดนิยม หรือภาพที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุด ไว้ให้กับผู้ขายภาพทุกคนได้ดูเป็นตัวอย่าง และผมยืนยันว่า ไมโครสต็อกเองก็ต้องการภาพ "แนวนี้" มากๆ  และลูกค้าเองก็ต้องการภาพ "แนวนี้" มากๆ เช่นกัน (แต่คำว่า "แนวนี้" แตกต่างกับคำว่า "แบบนี้" นะครับ คำว่า "แบบนี้" แปลว่า ลอกงานจนเหมือนหรือดูปุ๊บรู้ปั๊บเลยว่าเหมือนกัน หรือภาพเดียวกัน หรือว่ารู้เลยว่ามีที่มาจากภาพไหน)  สำหรับผู้ที่สนใจจะส่งภาพที่เป็น"แนวขายดี" เหล่านี้ ขอให้ทุกๆ ท่านดูภาพเหล่านี้เพื่อ "เป็นแนวทาง" "แนวคิด" "แรงบันดาลใจ" สำหรับนำไปต่อยอดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในรูปแบบที่ดูแล้ว "แตกต่าง" ออกไปจากต้นฉบับอย่างชัดเจน ไม่ใช่การลอกแบบอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา หรือเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเพียงเล็กน้อยจนมองไม่ออกว่ามันแตกต่างกัน อย่างไร
       การสร้างภาพใน "แนวขายดี" ไม่ใช่เรื่องที่ผิดนะครับ เป็นสิ่งที่ควรทำด้วยซ้ำไป เพื่อให้ภาพเราขายดี มีรายได้มาก ไมโครสต็อกก็ต้องการให้เราส่งภาพ "แนวขายดี" กันมากๆ  แต่ขอให้เป็นเพียง "แนวขายดี" เท่านั้น ห้ามลอก หรือ Copy งานของผู้อื่นอย่างเด็ดขาด ไม่เช่นนั้น จะได้ไม่คุ้มเสียในระยะยาว ภาพที่เราลอกคนอื่นไปเพียงภาพเดียว อาจจะทำให้เราต้องสูญเสียโอกาสในการขายภาพอื่นๆ ที่เราอุตส่าห์สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยตัวเองตั้งมากมายตลอดไป โดยเฉพาะใน Shutterstock จะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เราไม่ต้องสงสัยว่า ภาพตั้งเป็นสิบๆ ล้านภาพ เขาจะรู้ได้อย่างไรว่า ภาพเราไปเหมือนกับใคร หรือไปลอกภาพไหนมา ขอบอกว่า จะด้วยวิธีไหนไม่สำคัญ แต่เขารู้แน่ครับ ไม่ช้าก็เร็ว
       ทีนี้บางท่านอาจจะคิดว่า ภาพสต็อกมันก็ดูคล้ายๆ กันเป็นจำนวนมาก ก็ต้องมีบ้างที่เราคิดขึ้นมาเอง แล้วก็ไปเหมือนหรือคล้ายๆ กับคนอื่นบ้าง อันนี้ขอบอกว่า  ไม่ต้องกลัวครับ งานที่ผ่านการคิดขึ้นมาเอง หรือต่อยอดไปในระดับที่เป็น "งานสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจ" อย่างไรเสียก็มีข้อแตกต่างกับงานที่ "ลอก" มาอย่างจงใจแน่ๆ ซึ่งเรื่องนี้ ปกติแล้วอย่าว่าแต่ผู้ตรวจภาพที่มีประสบการณ์เลย แม้แต่คนทั่วๆ ไปก็พอจะมองออกได้ไม่ยากว่า ภาพไหน "ต่อยอด" ภาพไหน "ลอก" เท่าที่ผมพอจะรู้  ผู้ตรวจภาพไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่า ภาพนั้นจะผ่านการคิดขึ้นมาใหม่ร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่ แต่สนใจว่า ภาพ "แนวเดียวกัน" มีการสร้างสรรค์ต่อยอดไปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสิ่งนี้สามารถมองเห็นและตัดสินได้ตั้งแต่ดูภาพครั้งแรกแล้ว ยังไม่นับการยืนยันด้วยหลักฐานอื่นๆ ในกรณีที่มีการร้องขอ เช่น กันขอให้ส่งไฟล์ต้นฉบับที่สร้างภาพนั้นขึ้นมา (ถ้ามี) หรือว่า อธิบายวิธีการสร้างภาพนั้นขึ้นมา เป็นต้น ดังนั้น ตราบใดที่เรามั่นใจว่า งานของเราไม่ได้ "ลอก" งานของใคร ก็ไม่มีอะไรที่ต้องกังวลครับ
       ด้านล่างนี้คือตัวอย่างของชิ้นงานที่ทาง Shutterstock ได้ตัดสินว่า เป็นงานที่เกิดขึ้นจากการ "ลอก" หรือ "Copy" งานของผู้อื่น และได้ทำการปิดบัญชีหรือแอคเคาท์ของเจ้าของภาพแบบถาวร ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายและเสียใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับงานชิ้นอื่นๆ อีกมากมายที่จะต้องพลอยเสียโอกาสในการขายไปด้วย ไม่ต้องถามนะครับว่า ภาพไหนเป็นภาพที่ถือว่าเป็นต้นฉบับ และภาพไหนที่ถูกพิจารณาว่าเป็นภาพ Copy แต่ขอให้พิจารณาเพียงแต่ว่า ภาพสองภาพนี้ เหมือนหรือแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน จึงได้เป็นสาเหตุของการถูกปิดบัญชีครับ

MODEL RELEASE

          ในบรรดาภาพทั้งหลายที่ขายกันในอยู่ในไมโครสต็อกนั้น มีอยู่หลายแนวที่จัดอยู่ในกลุ่มภายขายดี หนึ่งในนั้นก็คือภาพที่มี คน” หรือ “People” เข้าไปเกี่ยวข้องหรือปรากฏอยู่ในภาพ ไม่ว่าจะปรากฏอยู่ชัด ๆ ในฐานะองค์ประกอบหลักของภาพ หรือเป็นเพียงองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพก็ตาม ไม่ว่าเนื้อหาหลักของภาพจะออกเป็นแนวไหน ถ้าลองมีภาพคนเข้าไปประกอบอยู่ด้วย ภาพนั้นก็จะขายดี (หรืออย่างน้อยก็มีโอกาสขายได้) มากเกินหน้าเกินหน้าตาภาพทั่วไปอยู่พอสมควร
          ภาพสต็อกมีส่วนคล้าย ๆ กับภาพทั่วไปในเรื่อง คน” อยู่อย่างหนึ่งก็คือ ถ้ามีคนปรากฏอยู่ในภาพด้วย ไม่ว่ามีขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ เป็นองค์ประกอบหลัก องค์ประกอบรองในภาพก็ตาม ภาพคนก็จะกลายเป็นจุดสนใจหลักในภาพนั้น หรืออย่างน้อยก็ทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นโดยอัตโนมัติ สมมติว่า ในภาพภาพหนึ่ง มีภูเขาขนาดใหญ่ยักษ์กินพื้นที่เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของภาพ มีภาพคนปรากฏอยู่ตรงมุมใดมุมหนึ่งเล็กนิดเดียว ผู้ดูภาพก็มักจะให้ความสนใจกับคนที่ปรากฏในภาพมากพอ ๆ กับภูเขาเลยทีเดียว แต่ถ้าเป็นกลับเป็นต้นไม้สักต้น หรือวัตถุอย่างอื่นในขนาดพอ ๆ กัน  โดยทั่วไปแล้วความสนใจต่อสิ่งนั้นจะน้อยลงกว่าภาพคนอย่างชัดเจน
          ยกตัวอย่างใกล้ ๆ ตัวคือภาพของผมเองใน Shutterstock ก่อนหน้านี้ภาพยอดนิยมอันดับหนึ่งก็จะเป็นภาพจานดาวเทียมหรือไม่ก็มังกร แต่หลังจากที่ผมถ่ายภาพเด็กชายกำลังถูกคุณหมอฉีดยาส่งไปขาย (เด็กชายในภาพคือลูกชายผมเอง และมือคุณหมอก็คือมือของภรรยาผมเอง ไม่ใช่คุณหมอจริง ๆ และสถานที่ก็เป็นในห้องนอนธรรมดา ๆ ไม่ใช่ในโรงพยาบาลที่ไหนครับ) ภาพนี้ก็แซงหน้าภาพอื่น ๆ ขึ้นมากเป็นภาพยอดนิยมอันดับหนึ่งอย่างรวดเร็ว มีดาวน์โหลดบ่อยครั้ง เรียกว่า แทบทุกวันก็ว่าได้ เป็นสิ่งที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพคนนั้นขายดีจริง ๆ แม้จะถ่ายกันเล่น ๆ ภายในครอบครัว ใช้แฟลชแมนนวลเก่า ๆ หนึ่งตัว (540EZ)  กับแฟลชจีนตัวเล็ก ๆ ราคาสองพันนิด ๆ อีกตัวหนึ่งเท่านั้นเอง
          การถ่ายภาพสต็อกที่มีคนปรากฏอยู่ในภาพนั้น แม้ว่าส่วนใหญ่จะทำให้ภาพมีโอกาสขายดีมากขึ้น แต่การถ่ายภาพคนก็มีขั้นตอนพิเศษเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยในขั้นตอนการส่งภาพ คือไมโครสต็อกทุกแห่ง จะต้องการสิ่งที่เรียกว่า ใบอนุญาตของตัวแบบหรือ Model Release แนบไปกับภาพด้วยทุกครั้ง หลาย ๆ ท่านที่ถ่ายภาพสต็อกมาสักระยะ หรือเคยอ่านหนังสือที่ผมเขียน ก็อาจจะรู้จักมักคุ้นกับคำว่า Model Release หรือที่ช่างภาพสต็อกชอบเรียกกันว่า MR นี้บ้างแล้ว ในตอนนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งนี้กันแบบลงลึกในรายละเอียด เพื่อว่าเวลาไปไหนมาไหน เวลาถ่ายภาพที่มีคนเข้าไปเกี่ยวข้องไปภาพ จะได้ไม่ต้องสงสัยว่า ภาพแบบใดต้องใช้ MR หรือไม่ต้องใช้ เนื้อหาของบทความนี้รวมทั้งภาพประกอบ  เรียบเรียงและอ้างอิงจากบทความในiStockPhoto ที่ชื่อ iStockPhoto Photography Standard Part Three: Model Releases โดยTHEPRINT&SIRIMO  ซึ่งสามารถนำไปใช้กับไมโครสต็อกอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน
          Model Release  เป็นใบอนุญาตที่ตัวแบบลงลายมือชื่อในเอกสารเป็นการยืนยันว่า ในขณะที่ถ่ายภาพนั้น ตัวแบบที่ปรากฏอยู่ในภาพนั้น ยินยอมหรืออนุญาตให้ช่างภาพสามารถใช้งานและ/หรือขายภาพนั้นได้โดยไม่มีการ เรียกค่าชดเชยใด ๆ ในภายหลัง ใบอนุญาตนี้จะเป็นสิ่งที่ป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับช่างภาพ กับตัวแบบเอง กับไมโครสต็อกที่เป็นตัวแทนขายภาพ และกับลูกค้าผู้ที่นำภาพไปใช้งาน แม้ว่าคุณถ่ายภาพตัวคุณเอง ก็จะต้องมีการแนบ MR ที่คุณเซ็นยินยอมด้วยตัวเองเช่นกัน และถ้าหากว่าภาพนั้นเป็นภาพของบุคคลอายุไม่เกิน 18 ปี ผู้ที่จะเซ็นชื่อใน MR ก็ต้องเป็นพ่อหรือแม่ หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย รวมไปถึงคนพิการ หรือคนที่ศาลตัดสินหรือพิพากษาให้เป็นคนที่ต้องมีผู้ปกครองหรือดูแลตาม กฏหมายก็ต้องให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้เซ็นชื่อแทน
กรณีใดบ้างที่เราภาพของเราต้องการมีการใช้ Model Release
          ตามความเข้าใจโดยทั่วไป จะต้องใช้ MR ในกรณีที่ในภาพนั้นปรากฏภาพของใบหน้าตัวแบบชนิดเห็นชัดเจน และสามารถระบุได้ว่าผู้ที่อยู่ในภาพถ่ายนั้นเป็นใคร แต่ภาพที่ถ่ายส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ภาพโคลสอัพของริมฝีปาก ไม่ต้องใช้ MR นั่นคือหลักการเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตาม ในบางกรณีเราก็สามารถจะรู้ได้ว่า บุคคลในภาพเป็นใคร แม้ว่าจะไม่เห็นหน้าของเขาหรือเธอปรากฏอยู่ในภาพเลยก็ตาม รอยแผลเป็น รอยสัก เป็นต้น เป็นสิ่งที่อาจจะใช้ระบุตัวของบุคคลได้ หรือในบางครั้ง เวลา สถานที่ หรือสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ก็สามารถที่จะทำให้ผู้เห็นภาพสามารถรู้หรือระบุได้โดยทั่วไปว่าบุคคลหรือ ส่วนต่าง ๆ ของบุคคลที่ปรากฏอยู่ในภาพนั้นเป็นใคร ลักษณะดังกล่าวนั้น เป็นภาพที่ต้องใช้ MR เช่นเดียวกับภาพที่มองเห็นใบหน้าชัดเจนเช่นกัน ศัพท์ทางเทคนิคที่ iStockPhoto ใช้เรียกสำหรับลักษณะดังที่ว่ามาคือ Contextual Release หรือ ใบอนุญาตสำหรับลักษณะแวดล้อม  ซึ่งก็คือ MR ที่จำเป็นต้องใช้เมื่อบริบทของภาพ ทำให้บุคคลหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบุคคลในภาพนั้น เป็นที่จดจำหรือถูกระบุตัวตนได้ ว่าเป็นใคร ไม่จะไม่ต้องปรากฏหรือมองเห็นใบหน้าของตัวแบบนั่นเอง
          ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุดคือว่า ลองถามตัวเองว่า ใครก็ตามที่ดูภาพแล้ว (ยกเว้นตัวนายแบบหรือนางแบบเอง) จะสามารถจดจำหรือระบุได้หรือไม่ว่า บุคคลหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบุคคลนั้นเป็นใคร  ไม่ว่าจะมีปรากฏอยู่ในภาพมากน้อยเพียงใด ถ้าคุณมีแนวโน้มจะสรุปว่า จดจำหรือระบุตัวเขาหรือเธอได้ นั่นก็แปลว่า จะต้องใช้ Model Release
          เพื่อให้ความคลุมเครือหรือสงสัยในเรื่อง บริบท” หรือ ลักษณะแวดล้อม” ที่ต้องใช้ MR มีความชัดเจนขึ้น ขอยกตัวอย่างด้วยภาพประกอบ ซึ่งจะประกอบด้วยภาพสองกลุ่มหลัก ๆ คือ ภาพที่เห็นได้ชัดว่า ตัวแบบตั้งใจหรือยินยอมให้ถ่ายอย่างเปิดเผย กับภาพที่ตัวแบบอยู่ในลักษณะถูกถ่ายโดยไม่อยู่ตัวหรือถ่ายในที่สาธารณะ ดังต่อไปนี้
กลุ่มแรก เป็นภาพที่ถ่ายโดยดูแล้วเห็นชัดว่า ตัวแบบยินยอมให้ถ่ายภาพอย่างเปิดเผย
ภาพนี้ต้องใช้ MR  แม้ว่าตัวแบบจะปิดหน้าของตัวเองไว้ แต่โดยทั่วไปก็ยังมองเห็นส่วนต่าง ๆ ของใบหน้าได้มากพอที่จะจดจำได้ว่า บุคคลที่อยู่ในภาพเป็นใคร
ภาพโดย andipantz : http://www.istockphoto.com/andipantz
ภาพนี้ต้องใช้ MR สำหรับทั้งสองคน เนื่องจากรอยสักทำให้สามารถระบุได้ว่าบุคคลในภาพเป็นใคร และผู้หญิงในภาพก็เห็นใบหน้ามากพอจนสามารถระบุได้ว่าเป็นใคร
ภาพโดย diane555  :  http://www.istockphoto.com/diane555
ภาพนี้ต้องใช้ MR ภาพเงาดำลักษณะนี้ แม้ว่าจะไม่ปรากฏรายละเอียดบนใบหน้า แต่เค้าโครงหน้าของตัวแบบที่เป็นองค์ประกอบหลักของภาพ
ก็ยังคงมีลักษณะที่สามารถระบุได้ง่ายว่าบุคคลนี้เป็นใคร
ภาพนี้ต้องใช้ MR ตัวของนักไวโอลินอาจจะดูแล้วระบุได้ยากว่าเป็นใคร เพราะภาพนี้ไม่ได้เปิดเผยใบหน้าของเธออย่างชัดแจ้ง สถานที่ในภาพก็ระบุไม่ได้ว่าเป็นสถานที่ใด และวัตถุหลักในภาพก็ดูจะเป็นไวโอลินเสียมากกว่า  อย่างไรก็ตาม ภาพนี้มีเหตุผลสำคัญที่สุดต้องทำให้ต้องใช้ MR ก็คือ ดูแล้วเป็นภาพที่มีการจงใจจัดท่าทางในการถ่าย หรือที่เรียกกันว่า มีการโพสท่านั่นเอง ซึ่งการโพสท่าถ่ายภาพในลักษณะนี้ ถือเป็นการแสดงอย่างหนึ่ง ดังนั้น จึงต้องใช้ Model Relase

กลุ่มที่สองคือ ตัวแบบอยู่ในลักษณะที่อาจจะไม่รู้ตัวว่าถูกถ่ายภาพ หรือภาพที่ถ่ายในที่สาธารณะทั่วไป
          เหตุผลที่สำคัญข้อหนึ่งในการที่ไมโครสต็อกต้องการให้ช่างภาพใช้ MR ในภาพที่สามารถระบุตัวแบบได้จากลักษณะแวดล้อมที่ปรากฏในภาพก็คือ  เป็นการป้องกันบุคคลที่ไม่รู้ตัวว่าถูกถ่ายภาพ ไม่ให้ถูกนำภาพไปเป็นแบบในเชิงพาณิชย์โดยที่พวกเขาไม่ยินยอม การถ่ายภาพใครก็ตามในที่สาธารณะ แน่นอนว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่การนำภาพบุคคลที่ถ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายที่ว่านั้นไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง การนำภาพไปใช้ในกรณีดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเงินที่นายแบบหรือนางแบบจะได้รับเพียงแต่ อย่างเดียว แต่ยังเกี่ยวข้องไปถึงความชอบ ความไม่ชอบ ความต้องการ ไม่ต้องการที่พวกเขาจะปรากฏหรือเปิดเผยตัวในที่ต่าง ๆ อันเป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ควรได้รับการเคารพอีกด้วย  iStockphoto ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในระดับสูงสุด (และไมโครสต็อกทั่วไปก็ยึดถือในทำนองเดียวกัน เพียงแต่อาจจะเข้มงวดน้อยกว่า iStockphoto เล็กน้อย ดังนั้น มาตรฐานของ iStockphoto จึงสามารถนำไปใช้ได้กับไมโครสต็อกอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน และโดยทั่วไป ที่นี่ก็เป็นเป้าหมายสำคัญของนักถ่ายภาพสต็อกอยู่แล้ว ดังนั้น การเตรียมตัวสำหรับภาพประเภทขายดีที่สุด และไมโครสต็อกที่ได้ชื่อว่า ขายภาพได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำความเข้าใจให้ชัดเจน)
          สำหรับภาพประเภทที่อยู่ในลักษณะนี้ มีข้อควรพิจารณาก็คือว่า แม้จะไม่สามารถเห็นหน้าหรือระบุตัวแบบจากลักษณะแวดล้อมได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าหากว่าตัวแบบที่ปรากฏในภาพนั้น ถูกพิจารณาว่า เป็นองค์ประกอบหลัก หรือวัตถุหลัก (Main Subject) ของภาพ ภาพนั้นก็ต้องใช้ Model Release ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ภาพนี้ต้องใช้ MR เนื่องจากตัวแบบเป็นหนึ่งใน Main Subject  ของภาพอย่างชัดเจน และลักษณะแวดล้อมต่าง ๆ  ไม่ว่าเสื้อผ้า หมวก กระเป๋า รองเท้า รวมทั้งกล้องที่ถืออยู่ในมือ และสถานที่ที่ตัวแบบยืนอยู่  ล้วนแต่เป็นสิ่งที่สามารถใช้ในการระบุหรือจดจำตัวบุคคลในภาพได้ แม้จะมองไม่เห็นส่วนใดส่วนหนึ่งของใบหน้าเลยก็ตาม
 
ภาพนี้ต้องใช้ MR แม้ว่าจะมองไม่เห็นหน้าของเด็กชัดเจน รวมทั้งสภาพแวดล้อมด้านสถานที่และท่าทางต่าง ๆ ก็ไม่จัดอยู่ในลักษณะที่ต้องใช้ MR แต่ประเด็นสำคัญก็คือ เด็กที่อยู่ในภาพนี้ ถือเป็น Main Subject ของภาพ จึงต้องใช้ MR
ภาพโดย  aguru  :  http://www.istockphoto.com/aguru
ภาพนี้ต้องใช้ MR  แม้ว่าจะมองไม่เห็นใบหน้าของตัวแบบชัดเจนพอที่จะระบุได้เป็นรายคนว่า บุคคลในภาพเป็นใครบ้าง แต่เมื่อภาพของคนสองคนที่เป็น Main Subject  มารวมกัน อีกทั้งสถานที่และลักษณะแวดล้อมอื่น ๆ เมื่อประกอบกันเป็นภาพโดยรวมแล้ว สามารถระบุได้ว่า บุคคลในภาพนี้เป็นใคร ดังนั้น จึงต้องใช้  MR
ภาพโดย  Caziopeia  :   http://www.istockphoto.com/caziopeia
          ข้อยกเว้นสำหรับการพิจารณาภาพในลักษณะดังกล่าวนั้นก็คือ หากว่าไม่เห็นใบหน้า  และไม่มีลักษณะเฉพาะตัวใด ๆ เป็นพิเศษ เครื่องแบบหรือเครื่องแต่งกาย “ทั่วไป”  จะไม่ถือว่าใช้ระบุตัวของบุคคลในภาพได้ เช่น ผู้หญิงใส่ชุดพยาบาลสีขาวและหมวกซึ่งเป็นชุดพยาบาลมาตรฐานทั่วไป ซึ่งพยาบาลที่ไหน ๆ ก็ใส่ชุดแบบนี้ เป็นต้น อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ชายที่มองไม่เห็นใบหน้า สวมเสื้อเชิ้ตสีขาวกางเกงสีดำถือกระเป๋าเอกสาร ซึ่งถือว่าเป็นชุดมาตรฐานของพนักงานออฟฟิศทั่ว ๆ ไป ถ้าว่าปรากฏในภาพโดยไม่มีลักษณะแวดล้อมเฉพาะตัวอย่างอื่นเข้ามาประกอบด้วย ก็ถือว่า ไม่สามารถระบุตัวบุคคลว่าเป็นใครได้จากเครื่องแต่งกาย ทั่วไป” ดังกล่าวนั้น  อีกกรณีหนึ่งที่ถือว่าไม่สามารถระบุตัวตนได้ก็คือ บุคคลที่เคลื่อนไหวอยู่ในลักษณะ เบลอ” หรือเป็นโบเก้ (ภาพที่อยู่นอกระยะชัดในการถ่ายภาพระยะใกล้ ส่วนใหญ่จะเป็นวง ๆ)” ก็ไม่ต้องใช้ MR  และโดยทั่วไปแล้ว บุคคลที่ปรากฏอยู่ใน Background หรือฉากหลังของภาพ (ในฐานะวัตถุประกอบหรือวัตถุรอง) หากว่าสวมใส่เครื่องแต่งกายทั่ว ๆ ไปและไม่มีหรือมีแสดงออกถึงลักษณะพิเศษเฉพาะใด ๆ ก็ไม่ต้องมีการใช้ MR
ภาพนี้ไม่ต้องใช้ MR แม้ว่าภาพนักเล่นวินเซิร์ฟในภาพ จะพิจารณาได้ว่าเป็น Main Subject ของภาพ แต่อยู่ในลักษณะที่เกือบจะเป็น เงาดำ” (ไม่มีลักษณะเฉพาะตัวอื่นใดเป็นพิเศษ) และการเล่นวินเซิร์ฟก็เป็นกิจกรรม “ทั่วไป”  ที่ไม่ถือเป็นลักษณะแวดล้อมเฉพาะหรือพิเศษมากพอที่จะต้องใช้ MR
ภาพโดย  Caziopeia  :  http://www.istockphoto.com/caziopeia
ภาพนี้ต้องใช้ Model Release  แม้ว่าฝูงชนที่อยู่ในฉากหลังของภาพจะดูเหมือนไกลพอที่จะไม่ต้องการ MR สำหรับพวกเขาเหล่านั้น แต่ชายผู้ขี่ม้าก็สวมชุดที่ดูแล้วเป็นชุด เฉพาะ”  อย่างชัดเจน อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่เป็นเหตุการณ์ ก็สามารถนำมาประกอบกันแล้ว ทำให้รู้ได้ไม่ยากว่า บุคคลที่ปรากฏในภาพเป็นใคร
ภาพโดย izusek :  http://www.istockphoto.com/izusek
นี่เป็นภาพที่ประกอบด้วยคนจำนวนมาก แต่ไม่ต้องการ MR ใด ๆ เลย ทุก ๆ สิ่งในภาพมีลักษณะ ทั่วไป” ดูแบบปกติไม่มีอะไรที่บอกว่าเป็นการโพสโดยจงใจ หรือถ่ายจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในที่สาธารณะ ไม่มีใบหน้าหรือรอยสัก แผลเป็น หรือลักษณะใด ๆ ที่เป็นพิเศษพอจะระบุตัวตนของบุคคลในภาพได้ จึงไม่ต้องการ MR แต่ถ้าจะให้มั่นใจมากขึ้นไปอีก เวลาบรรยายภาพ ให้เราบรรยายในทำนองว่า เป็นภาพของกลุ่มคน โดยไม่ต้องระบุเหตุการณ์ หรือสถานที่ที่เราถ่ายภาพมา เท่านี้ ภาพนี้ก็จะมีลักษณะทั่วไป” อย่างสมบูรณ์แบบ
ภาพชื่อ Business Team โดย nikada  : http://www.istockphoto.com/nikada
ภาพนี้ต้องใช้ MR  แม้ว่าใบหน้าของตัวแบบจะมีลักษณะ เบลอ” อยู่ด้านหลัง
แต่โดยทั่วไปก็ถือว่ายังสามารถระบุหรือรู้ได้อย่างไม่ยากนักว่าตัวแบบนั้นเป็นใคร ดังนั้น จึงต้องใช้ MR
          หลักเกณฑ์ในการต้องใช้หรือไม่ต้องใช้ MR นั้น บางครั้งก็มีความสับสนอยู่ไม่น้อย นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมบทความนี้จึงต้องมีตัวอย่างหลาย ๆ แบบ ในทางปฏิบัติแล้ว การขอให้ตัวแบบเซ็น MR เอาไว้ก่อนในกรณีที่ไม่มั่นใจว่าจะต้องใช้หรือไม่ต้องใช้นั้นเป็นวิธีที่ถูก ต้อง แม้จะทำให้ดูเสียเวลาและยุ่งยากไปบ้าง แต่ก็เป็นการปลอดภัยไว้ก่อน เพราะถ้าไม่มีสิ่งนี้เตรียมไว้ เมื่อมีการเรียกหา MR ขึ้นมา อาจจะทำให้ช่างภาพเสียโอกาสในการขายภาพนั้นไปก็ได้
          โปรดระลึกไว้เสมอว่า Model Release จะช่วยปกป้องตัวคุณและตัวแบบของคุณจากปัญหาทางกฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับช่างภาพแนวสต็อก หากคุณวางแผนจะถ่ายภาพใครสักคนล่วงหน้า วิธีการที่ถูกต้องก็คือ ส่งเอกสารMR ไปให้เขาหรือเธออ่านและทำความเข้าใจล่วงหน้าก่อน เผื่อว่ามีคำถามหรือข้อสงสัยใด ๆ คุณจะได้อธิบายได้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนก่อนจะมีการเซ็นชื่อลงไป และคุณเองก็จะต้องทำความเข้าใจให้ดีถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของเอกสาร MR เพื่อจะได้อธิบายให้ตัวแบบของคุณเข้าใจอย่างถูกต้อง  ส่วนใหญ่แล้วตัวแบบมักจะกังวลว่า ภาพของตนเองอาจจะถูกนำไปใช้ในทางเสียหาย เช่น นำไปตัดต่อหรือตกแต่งในทางไม่เหมาะสม หรือใช้ในทางที่ขัดแย้งกับสถานะหรือความเชื่อของตนเอง เช่น ภาพของบุคคลหญิงสาวกำลังอยู่ในสปา อาจจะถูกนำไปตัดต่อส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เพื่อนำไปโฆษณาธุรกิจที่เกี่ยวข้องการการบริการทางเพศ เป็นต้น
           ช่างภาพจะต้องอธิบายให้ตัวแบบเข้าใจว่า การนำภาพไปใช้นั้น ไม่ใช่ว่าลูกค้าซื้อไปแล้วจะให้ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบ ไมโครสต็อกมีหลักเกณฑ์แจ้งแก่ลูกค้าอย่างชัดเจนว่า การนำภาพบุคคลไปใช้งานนั้น จะต้องใช้ในทางที่ไม่ทำให้ตัวแบบได้รับความเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง รวมทั้งขัดแย้งกับความเชื่อในทางใดทางหนึ่ง เป็นต้น จะเป็นการดีมากหากช่างภาพได้ศึกษารายละเอียดเรื่อง License ประเภทต่าง ๆ ที่ไมโครสต็อกอนุญาตแก่ลูกค้า ซึ่งจะช่วยให้สามารถอธิบายทำความเข้าใจกับตัวแบบได้ง่ายขึ้น การได้รับลายเซ็นอนุญาตใน MR ก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ
ต้องใช้ MR  ภาพที่ถ่ายสตูดิโอ ไม่ใช่ภาพประเภทบังเอิญในพบเห็นในที่สาธารณะแล้วถ่ายภาพไว้  แต่เป็นภาพที่มีการจัดแสงจัดฉากจัดท่าทางในการถ่าย  จะต้องใช้ MR ยิ่งถ้าภาพที่มีความเป็นนู้ดเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเช่นภาพนี้ ต่อให้ไม่เห็นหน้าเลยแม้แต่นิดเดียว ก็ยังคงต้องใช้ MR ครับ
ภาพโดย   dphotographer :  http://www.istockphoto.com/dphotographer
ภาพนี้ต้องใช้ MR อย่างไม่ต้องสงสัย ตามตัวอย่างก่อนหน้านี้ มีทั้งความเป็น “นู้ด”  มีทั้งเห็นรอยสัก
และเป็นภาพที่ดูแล้วมีการจัดท่าทางหรือ โพส” ถ่ายในสตูดิโอ จึงต้องใช้ MR อย่างแน่นอน
          ถ้าคุณถ่ายภาพคนอยู่บ่อยครั้งและส่งภาพประเภทนี้ไปขายในไมโครสต็อกเป็นประจำ คุณควรจะให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมและจัดการเรื่อง MR เป็นหนึ่งในเรื่องหลักของงานที่จะทำ สำหรับการส่งภาพคนไปยัง iStockphoto แม้ว่าคุณจะถ่ายภาพตัวแบบคนเดิมซ้ำหลายๆ ครั้ง แต่ภาพชุดที่ต่างวันเวลากัน (ทิ้งระยะเกิน 15 วัน) ก็ต้องมีการเซ็น MR ใหม่ แม้ว่าไมโครสต็อกอื่น ๆ จะไม่จำเป็นต้องให้ตัวแบบเซ็นเอกสารนี้บ่อย ๆ แต่ถ้าคิดว่าจะส่งภาพบุคคลดังที่ว่ามา ไปขายยัง iStockphoto ก็ต้องเตรียมพร้อมในเรื่องนี้เอาไว้ด้วยมาตรฐานและรายละเอียดดังที่กล่าวมา ข้างต้น
ภาพนี้ต้องการ MR แม้ว่าจะมีหน้ากากปิดบังใบหน้าของตัวแบบเอาไว้จนมองไม่เห็นเลยแต่ถ้าใช้หลัก การตามตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นทั้งหมด ภาพนี้ต้องการ MR เพราะว่า เป็นภาพที่ถ่ายในสตูดิโอซึ่งมีการ โพสท่า” มีการ จัดแสง” หน้ากากที่ตัวแบบสวมอยู่นั้นก็เป็นหน้ากากที่ไม่ใช่หน้ากาก ทั่วไป” แต่ถือเป็นหนึ่งในวัตถุที่เป็น ลักษณะแวดล้อม” ซึ่งจะใช้ระบุได้ในภายหลังว่าตัวแบบเป็นใคร  ภาพนี้จะต้องใช้ MR แนบไปด้วยเท่านั้น ภาพจึงจะครบองค์ประกอบที่จะได้รับการพิจารณา
ภาพนี้ต้องการ MR แม้ว่าชายคนนี้จะอยู่ในเครื่องแต่งกายที่เป็นกางเกงยีนส์และเสื้อยืดสีขาว ธรรมดา ๆ และมองไม่เห็นใบหน้า ภาพนี้ไม่ได้ถ่ายในสตูดิโอ ไม่ได้ถ่ายจากด้านหน้า ท่าทางการโยนโบวลิ่งก็เป็นท่าทางปกติที่ใคร ๆ ก็โยนกันในท่านี้ ดูเผิน ๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ MR แต่ภาพนี้ต้องใช้ MR ด้วยเหตุผลสำคัญสองอย่างคือ สถานที่ในภาพนี้เป็นสถานที่เฉพาะอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะลวดลายที่ใช้ตกแต่งผนังนั้นเป็นลวดลาย เฉพาะ” ที่สามารถระบุได้ว่า เป็นโรงโบวลิ่งแห่งใด ซึ่งในกรณีมีปัญหาทางกฏหมาย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้การระบุตัวของแบบทำได้ไม่ยาก และเหตุผลที่สำคัญที่สุดของภาพนี้ก็คือ อย่าลืมว่า ตัวแบบเป็นMain Subject ของภาพนี้ ซึ่งถือเป็นเหตุผลหลักที่ต้องใช้ MR อย่างแน่นอน
ภาพโดย knape :  http://www.istockphoto.com/knape
          เมื่อใดบ้างที่ อาจจะ” ต้องใช้ Model Release   (คำว่า อาจจะ” นี้หมายความว่า ช่างภาพควรจะให้ตัวแบบเซ็นMR ไว้ก่อนจะปลอดภัยที่สุด เผื่อในกรณีที่มีการขอจากไมโครสต็อก เราจะได้มีส่งไปให้)
1. หากว่าตัวแบบเป็นองค์ประกอบหลัก หรือ Main Subject  ของภาพ
2. หากว่าตัวแบบเป็นองค์ประกอบรอง หรือ Secondary Subject  ของภาพ ซึ่งยังคงดูแล้วมีความสำคัญต่อเนื้อหาของภาพโดยรวม
3. หากว่าตัวแบบกำลังทำท่าทางใด ๆ ซึ่งไม่ใช่การแสดงท่าทาง ทั่วไป” ที่บุคคลแสดงออกในที่สาธารณะและในชีวิตประจำวัน เช่น นุ่งผ้าเช็ดตัวซึ่งดูคล้ายกำลังจะ  อาบน้ำ   หรือกำลังเหยียบเปลือกกล้วยลื่นล้ม เป็นต้น
           เมื่อใดบ้างที่เป็นภาคบังคับว่า  “จะต้อง” ใช้ MR แนบไปกับภาพทุกครั้ง
1. เมื่อเห็นหน้าหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของใบหน้าซึ่งสามารถจดจำได้ว่า ตัวแบบนั้นเป็นใคร
2. เมื่อมองเห็น เอกลักษณ์” อย่างใดอย่างหนึ่งของตัวแบบ เช่น รอยสัก แผลเป็น หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่ดูเหมือนออกแบบหรือมีลวดลายพิเศษแตกต่างจากเสื้อผ้า ทั่วไป เป็นต้น
3. เมื่อภาพนั้นดูเหมือนเป็นการตั้งใจ โพสท่า” ให้ถ่ายภาพเป็นการเฉพาะ หรือมีลักษณะที่พิจารณาได้ว่าเป็นภาพนู้ด” ไม่ว่าจะมากหรือน้อย
4. เมื่อลักษณะสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในภาพ (เช่น สถานที่เหตุการณ์ เป็นต้น) ดูรวมแล้ว สามารถทำให้ตัวแบบสามารถระบุได้ง่าย ๆ ว่า บุคคลหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของบุคคลที่ปรากฏในภาพนั้น คือตัวเขาหรือเธอเอง
5. เมื่อถ่ายภาพในขณะตัวแบบมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการกีฬาหรือกิจกรรมใน ระดับ อาชีพ” หรือ กึ่งอาชีพ” (ที่มีการจัดการแข่งขันหรือจัดสถานที่อย่างจำเพาะเจาะจง) เช่น การแข่งขันจักรยานยนต์วิบาก การแข่งขันบาสเก็ตบอล เป็นต้น
กฏทั่วไปที่สำคัญที่สุดสองข้อสำหรับ Model Release
1.   แนบ MR ไปกับภาพเสมอทุกครั้งเท่าที่คุณจะสามารถทำได้ มันจะดีสำหรับตัวคุณเองและทุกคนที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับภาพของคุณ ในกรณีที่สงสัยหรือหาข้อสรุปไม่ได้ว่า ภาพนั้นต้องใช้ MR หรือไม่ การขอให้ตัวแบบเซ็นเอกสารและส่งไปด้วยเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด ถ้าแนบไปแล้ว แต่ไมโครสต็อกไม่ต้องการใช้ ก็ไม่ถือว่าผิดกติกาแต่อย่างใด ภาพยังคงได้รับการตรวจตามปกติ แต่ถ้าไมโครสต็อกพิจารณาว่าต้องการใช้ แต่ไม่มีการแนบไปด้วย อันนี้ถือว่า ผิดกติกา คุณจะเสียโอกาสในการที่ภาพจะถูกพิจารณาแน่นอน
2.   อย่าใช้วิธีการแบบ ศรีธนญชัย” กับไมโครสต็อกเป็นอันขาด เช่น คุณถ่ายภาพบุคคลในลักษณะที่คุณรู้ดีว่าต้องใช้ MR แต่คุณไม่ได้ให้ตัวแบบเซ็นเอกสารนี้  และคุณจัดการตัดส่วน (Crop) หรือดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ในภาพเพื่อให้เข้าลักษณะที่ไม่ต้องใช้ MR แล้วส่งไปขายในไมโครสต็อก ผลที่ได้รับ อาจจะไม่คุ้มค่าด้วยประการทั้งปวง
          Model Release ที่เป็นตัวเรา คือช่างภาพเอง ถ่ายตัวเอง หรือให้บุคคลอื่นถ่ายให้โดยการจ้าง หรือใช้ หรือขอความช่วยเหลือ ที่โดยพฤตินัยและนิตินัย ผู้กดชัตเตอร์ไม่อยู่ในฐานะที่อ้างสิทธิในภาพได้ เช่น กล้องเรา ชุดไฟเรา สถานที่เรา ความคิดของเรา เป็นต้น ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของตัวเราเอง  ส่งได้ภายในเงื่อนไขโมเดลรีลิสข้างต้นครับ

การกรอกฟอร์ม TAX ใน FL, SS, DT

การกรอกฟอร์ม TAX ใน FL, SS, DT

          Fotolia ,Shutterstock และ Dreamstime โดยเมื่อเรามีภาพที่ได้รับการ Approved แล้ว จะมีการส่งอีเมล์มาให้เราเข้าไปจัดการเรื่องนี้ โดยการคลิกที่ Tax Center หรือคลิกตามลิ้งก์ที่มากับอีเมล แล้วเข้าไปเลือกแบบฟอร์มที่ตรงกับคุณสมบัติของเรา เนื่องจากผมได้กรอกฟอร์มนี้มาประมาณ ปีก่อนหน้านี้ ก็เลยจำขั้นตอนโดยละเอียดไม่ได้ แต่ขอสรุปว่า สำหรับช่างภาพชาวไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ฟอร์มที่ถูกต้องคือ ให้เราเลือกใช้ฟอร์มหมายเลข  W-8BEN  และในการกรอกฟอร์ม ก็ให้กรอกตามตัวอย่างที่ผมให้มาได้เลย ไม่ยากครับ

          หลังจากการกรอกแบบฟอร์มนี้แล้ว เมื่อเรามียอดค่าคอมมิชชั่นที่เกิดจากลูกค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ดาวน์โหลดภาพของเรา เราจะถูกไมโครสต็อกที่จ่ายเงินให้เราหักภาษีไว้ 15% แต่ถ้ายอดขายหรือยอดดาวน์โหลดมาจากลูกค้านอกอเมริกา เราก็จะได้รับเงินเต็มจำนวน (ยกเว้นใน Dreamstime จะถูกหักเพียง 5% จากยอดค่าคอมมิชชั่นที่เกิดจากลูกค้าในอเมริกา ส่วนลูกค้านอกอเมริกาก็ได้เต็มจำนวนเช่นเดียวกัน ส่วนสาเหตุที่มีการหักแตกต่างกันนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ถ้ามีรายละเอียดเพิ่มเติมจะแจ้งให้ทราบครับ)
Part 1
ข้อ ให้กรอกชื่อที่อยู่ของคุณให้ตรงกับที่สมัครไว้กับ Fotolia ครั้งแรก

ข้อ ให้ติ๊กถูกที่เช็คบ๊อกซ์ และใส่คำว่า Thailand (ถ้ามันไม่ผ่าน ก็ลองใส่ N/A ดูครับ)
ข้อ 3 ติ๊กที่ Individual
ข้อ 4 กรอกที่อยู่ของเราในเมืองไทย กรอกเป็นภาษาอังกฤษครับ
ข้อ 5 เว้นไว้ ไม่ต้องใส่อะไร
ส่วนที่ 2
ข้อ 9 ใส่ Thailand
ส่วนที่อื่นๆ  ไม่ต้องกรอกอะไรเพิ่มเติมแล้ว แค่นี้ครับ
แล้วอีกไม่กี่วันก็จะได้รับอีเมล์ตอบมาดังนี้ แปลว่าเรียบร้อยแล้วครับ